อานิสงส์แห่งการจุดประทีป
ผู้ใดจุดประทีปถวายคราวที่ควรจุดประทีปในเวลาคํ่าคืน อันเป็นอุปกรณ์กำจัดความมืดให้เป็นทาน วิมานอันมีรัศมีโชติช่วง มีสวนงดงามมาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - ฝ่าเท้ามารดา หนทางพาสู่สวรรค์
ในสมัยที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นช้างเผือก ที่มีความ กตัญญู มีบริวารถึง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก สามารถปกครองช้างทั้งหมดให้อยู่กันอย่างมีความสุข มารดาของท่านตาบอด ไม่สะดวกในการหาอาหารด้วยตนเอง ในคืนวันหนึ่ง พญาช้างโพธิสัตว์จึงพามารดาไปอยู่ในถ้ำที่เชิงเขาตามลำพัง คอยหาน้ำ หาอาหารมาเลี้ยงดูแลท่านด้วยความกตัญญู
พระพุทธคุณ ตอน ผู้รู้แจ้งโลก
บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุราชได้แล้ว ได้ถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นการเกิด บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีปัญญาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง
คำชี้แจงจากวัดพระธรรมกาย 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 เวลา 10.00 น.
กรรมตามสนอง
ผู้ใดประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาล เหมือนธุลีอันละเอียด ที่ซัดไปทวนลมฉะนั้น
ไม่มีใครติเตียน
ผู้ใด เมื่อผู้อื่นทำความดีต่อตน ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แล้วรู้คุณของเขา ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๒)
ในระหว่างทาง ได้พบเหตุการณ์อีกมากมาย และยังมีเรื่องราวที่จะโยงไปถึงพระราชาโพธิสัตว์อีกหลายเรื่อง วันนี้คงกล่าวได้ไม่หมด คงต้องทยอยมาเล่าให้ฟัง เราจะ ได้เห็นถึงพระปัญญาอันลึกซึ้งของพระโพธิสัตว์ ที่สามารถตอบปัญหาทุกข้อได้อย่างแจ่มแจ้งยิ่งกว่าลืมตาเห็น และที่น่าทึ่งคือ ท่านยังทรงพระเยาว์อยู่ ขึ้นครองราชย์ตอนอายุเพียง ๗ ชันษาเท่านั้นและท่านจะต้องตอบคำถามเหล่านี้
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - ชีวิตและชาติพินาศเพราะสุรา
สุรา ดื่มแล้วจะเมามายขาดสติเดินโซเซตกลงไปในบ่อ ในหลุมน้ำครำ หรือหลุมโสโครกก็ได้ จะกล้ากินของที่ไม่ควรกิน จะเที่ยวไปในที่ต่างๆ โดยไม่มีจุดหมาย จะทำตัวเหมือนคนอนาถา กล้าฟ้อนรำขับร้องโดยไม่อายใคร กล้าเปลือยกายเดินตามถนนหนทาง จะมีจิตลุ่มหลง นอนตื่นสาย แม้ไฟไหม้ก็ยังนอนอยู่ได้ จะนอนจมอยู่ในอาเจียนของตนก็ได้ จะนั่งคุยโวพร่ำเพ้อในที่ประชุมชน และมักจะทำสิ่งทุจริตต่างๆ จนถูกจองจำ ถูกฆ่า และเสื่อมจากโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - กตัญญู คุณค่าของความเป็นคน
พระราชาทรงดำริว่า ช้างพังนี้มีอุปการะแก่เรามาก จึงพระราชทานเครื่องคชาภรณ์ทุกอย่าง ได้บำรุงอย่างดีเหมือน กับที่พระเจ้าอุเทนทำกับภัททวดีช้างพังฉะนั้น แต่ต่อมาภายหลัง เมื่อช้างพังต้นโอฏฐิพยาธิชราภาพลง พระราชารับสั่งให้ริบทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนทำนองที่ว่า เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพลนั่นเอง
เจริญธัมมานุสติ
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมนั้น